๑. | กรมศึกษาธิการ (ราว พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๔๕๔)
|
๒. | กรมราชบัญฑิต (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๓) |
| เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ กรมราชบัณฑิตซึ่งเดิมเป็นกรมขึ้นตรงต่อกระทรวง ได้ย้ายมาขึ้นกับกรมศึกษาธิการ จึงได้จัดวางระเบียบหัวข้อราชการขึ้นในกรมราชบัณฑิตใหม่ ห้องสมุดจึงได้มีฐานะเป็นแผนก ๆ หนึ่งในกรมราชบัณฑิต ซึ่งเป็นกรมในสังกัดกรมศึกษาธิการ) หน้าที่ของ แผนกห้องสมุดในขณะนั้นคือ จัดและรักษาห้องสมุดกรมศึกษาธิการและจัดห้องสมุดประชาชน (ในสมัยนั้นเรียกว่า ห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชน)
พ.ศ. ๒๔๖๐ แผนกห้องสมุด มีหน้าที่จัดและดูแลห้องสมุดของกระทรวงธรรมการและ สามัคยาจารยสมาคม ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่ห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชนด้วย
|
๓. | กรมตำรา (พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๔๗๓ )
|
| พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้เปลี่ยนชื่อกรมราชบัณฑิตเป็นกรมตำรา จากรายงานกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๔๖๘ ระบุว่า "ห้องสมุดกรมตำรา" ก็คือ "ห้องสมุดของกระทรวงศึกษาธิการ" พ.ศ. ๒๔๖๙ แผนกห้องสมุดมีหน้าที่จัดห้องสมุดสำหรับกระทรวงและจัดห้องสมุดในที่ต่างๆ ทั่วไป เพื่อให้ชนทุกชั้น ชาติ ศาสนา ได้มีโอกาสหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการอ่านหนังสือ เรียกว่า ห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชน
|
๔. | กรมวิชชาธิการ (พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๔๗๖) |
๕. | กรมศึกษาธิการ กองวิชาการ (พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๘๒) |
| ต่อมากรมศึกษาธิการได้ถูกยุบเลิก เพราะเป็นกรมใหญ่และมีหน่วยราชการในสังกัดมาก จึงจัดตั้งขึ้นใหม่เป็นกรมใหญ่ ๒ กรม คือ กรมวิชาการ และกรมสามัญศึกษา ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๘๒ |
๖. | กรมวิชาการ (เดิม) กองตำรา (พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๘๔)
|
| พ.ศ. ๒๔๘๔ กรมวิชาการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมอาชีวศึกษา |
๗. | กรมอาชีวศึกษา กองวิชาการ (พ.ศ. ๒๔๘๒ - ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๓) |
๘. | สำนักงานปลัดกระทรวง (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๕) |
| เป็นระยะที่เรียกได้ว่า ห้องสมุดปิด เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ไม่มีงบประมาณ |
๙. | กรมวิชาการ (พ.ศ. ๒๔๙๕ - ปัจจุบัน)
|